มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมกับ สวทช., GISTDA และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ใช้งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งตอบโจทย์ภาคสังคม พื้นที่ และสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชน

วันที่ 7 ธ.ค. 64 เวลา 13.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร สวทช. และ GISTDA และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ร่วมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ใน”ประเด็นการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ณ อาคารหาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวว่า “พันธกิจของ มหาวิทยาลัยตอนนี้นอกจากการเรียนการสอน คือการทำงานร่วมกับชุมชน โดยในตอนนี้ได้มีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง และยกระดับการทำงานด้วยโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในระบบออนไลน์เชิงพื้นที่ สำหรับสถานการณ์นิวนอร์มัล ภายใต้โครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย “เรามีการร่วมมือกับ ภาครัฐและเอกชนในการพัฒนกำลังคนในพื้นที่ทั้งภาคเกษตร SME เป็นการสร้างความเข้มแข็ง สร้างรายได้ สร้าง อาชีพที่ตอบโจทย์กับทักษะแรงงานในยุคปัจจุบัน โดยร่วมกับ สวทช. ในการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเกษตรที่ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบเกษตรอัจฉริยะแบบเข้มข้นโดยใช้นวัตกรรมแบบ เปิด “HandySense” ระบบบริหารจัดการและติดตามการผลิตพืชปลอดภัย GAP “สถานีตรวจวัดอากาศ weather station เป็นต้น และร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA ในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ดาวเทียม ในการคาดการณ์และวางแผน ทางด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ เช่น คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน สภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับการทำเกษตรวิถีใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนภาคอุตสาหกรรมเราได้ร่วมมือกับ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในการเรียนรู้เพื่อจัดการโรงงานแบบขยะเหลือศูนย์ “Zero waste” โดยมีการ จัดการขยะตั้งแต่ต้นทางการของการผลิตจนได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรในการผลิตสิ่งต่าง ๆ อย่างคุ้มค่ามากที่สุดตามตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
นอกจากการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ยังมีการทำงานร่วมกับ 6 ชุมชน มีผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอบางปะกง อำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า และ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าฉะเชิงเทรา การทำงานร่วมกันครั้งนี้ได้มีการ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ การคัดสรรผลิตผลคุณภาพดี การแปรรูปเพื่อให้ตอบโจทย์ การบริโภคของคนรุ่นใหม่ รวมถึงการพัฒนาแพ็กเกจให้สวยงาม ทรงคุณค่าและน่าซื้อหาเป็นของฝาก
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เป็น โครงการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่ด้วยการเรียนแบบใหม่ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่ง มหาวิทยาลัย มีการเพิ่มหลักสูตร upskill, reskill เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประชาชนที่อยากจะเพิ่มความรู้ให้ ตนเอง และตอบโจทย์ทักษะการทำงานสมัยใหม่เช่น smart farmer ผู้ประกอบการยุคดิจิทัลซึ่งสามารถเรียนรู้จาก ผู้มีประสบการณ์จริงและเก็บเครดิตไว้รับปริญญาอีกด้วย”