ประวัติ มรภ.ราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นรูป พระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์” ด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีสถานที่ปฏิบัติงานดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอยู่ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ใกล้วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร ใกล้กับกองพันทหารช่างที่ ๒ (ค่ายศรีโสธร) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีสถานที่ปฏิบัติงานแยกกันเป็น ๒ แห่ง คือ
แห่งแรก
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๔๒๒ ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐ พื้นที่ ๔๓ ไร่เศษ
แห่งที่สอง
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๖ หมู่ ๔ ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๑๑๐ มีพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ใช้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙พ.ศ.๒๔๘๓
คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย สิก.เขย.ย สิกขิตพ.พานิ
พึงศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษา
วิดีทัศแนะนำมหาวิทยาลัย
เพลงมาร์ช มรร.
แผนทีการเดินทาง
ประวัติ มรภ.ราชนครินทร์
พ.ศ.๒๔๘๓
โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.)
พ.ศ.๒๔๘๕
โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.) และหลักสูตรครูประชาบาล (ป.) หรือครูมูล
พ.ศ.๒๔๙๑
พ.ศ.๒๔๙๑ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.)
พ.ศ.๒๔๙๔
เปิดสอนหลักสูตรประโยคฝึกหัดครูประถม (ป.ป.)
พ.ศ.๒๔๙๘
โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เปิดสอนหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)
พ.ศ.๒๕๑๓
วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
เปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตร
วิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง)
(นักศึกษาภาคปกติ และภาคค่ำ)
พ.ศ.๒๕๒๒
เพิ่มโครงการอบรมครูประจำการ (อ.ค.ป.)
ผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี
พ.ศ.๒๕๒๗
วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
เปิดสอนระดับปริญญาตรีในหลักสูตรการศึกษา (ค.บ.)
สาขา วิทยาศาสตร์ (วท.บ.)
หลักสูตรศิลปะศาสตร์ (ศศ.บ.)
ทั้งนักศึกษาภาคปกติ
และนักศึกษาตามโครงการจัดการ
ศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.)
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น(กศ.พท.)
พ.ศ.๒๕๓๕
สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา
พ.ศ.๒๕๔๑
สถาบันราชภัฏราชนครินทร์
พ.ศ.๒๕๔๗ - ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์